Road of Y-SPAN #1 ยีน คืออะไร

gene genome chromosome DNA
มันคืออะไร เห็นพูดถึงกันเยอะมาก
เกี่ยวกับเรามั้ย มีผลยังไงกับเราเหรอ
ส่วนใหญ่เรียนมาแล้ว และก็ลืมๆกันไปแล้ว

วันนี้ เรามาทบทวนความรู้เรื่องนี้กันนะคะ
จะเข้าใจอะไรๆ ได้ชัดเจนขึ้น

ยีน (Gene)

  • ยีน (หน่วยพันธุกรรม) ปรากฏอยู่บนโครโมโซม (chromosome) โดยโครโมโซม ประกอบด้วยดีเอ็นเอ(DNA)ซึ่งมียีน (gene)อยู่ด้านใน DNA (คือใน DNA จะมีทั้งยีนและไม่ใช่ยีนอยู่) ทำหน้าที่กำหนดลักษณะ ทางพันธุกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต
  • ยีน คือ ส่วนหนึ่งของโครโมโซม (Chromosome segment) หรือ ส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอ (DNA segment) ที่สามารถถอดรหัส (transcription) ได้เป็นเอ็มอาร์เอ็นเอ(mRNA) แล้วนำเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA)ที่ได้มาแปลรหัส (translation) เป็นสายโพลีเปปไตด์ (polypeptide) หนึ่งสายอีกทีหนึ่ง
  • ยีน ประกอบด้วย ส่วนที่ถูกถอดรหัส(transcription)เป็นเอ็มอาร์เอ็นเอ(mRNA)และสามารถแปลรหัส(translation)เป็นโปรตีนได้ เรียกว่า เอ๊กซอน (Exon) และ ส่วนที่จะไม่ถูกแปลรหัสเป็นโปรตีน เรียกว่า อินตรอน (Intron)

ดีเอ็นเอ (DNA)

  • ดีเอ็นเอ (DNA)คือ ชื่อย่อของสารพันธุกรรม มีชื่อแบบเต็มว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic Acid) ซึ่งเป็นจำพวกกรดนิวคลีอิก(Nucleic acid) ซึ่งเป็นกรดที่สามารถพบได้ในส่วนของใจกลางของเซลล์
  • ดีเอ็นเอ มักพบอยู่ในส่วนของนิวเคลียสของเซลล์ โดยพันตัวอยู่บนโครโมโซม(Chromosome)ซึ่งมักพบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
  • ดีเอ็นเอ ทำการเก็บข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งๆเอาไว้ ซึ่งมีลักษณะที่มีการผสมผสานมาจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อน ซึ่งก็คือ รุ่นพ่อและแม่ (Parent) ทั้งยังสามารถถ่ายทอดลักษณะไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นถัดไป ซึ่งก็คือรุ่นลูก หรือ รุ่นหลาน (Offspring)

โครโมโซม (Chromosome)

  • เป็นที่อยู่ของสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ (DNA) รวมถึงหน่วยพันธุกรรมหรือยีน(gene) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและถ่ายทอดข้อมูล เกี่ยวกับ ลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น ลักษณะของเส้นผม ลักษณะดวงตา เพศ และผิว
  • เมื่อใช้กล้องจุลทรรศน์มองโครโมโซม จะเห็นมีลักษณะคล้ายๆเส้นด้ายบางๆ เรียกว่า “โครมาติน (chromatin) หรือ เส้นใยโครมาติน(chromatin fiber)” ขดตัวอยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ เมื่อมีการแบ่งเซลล์จะมีการแบ่งโครโมโซมเกิดขึ้น ซึ่งเมื่อเซลล์เริ่มมีการแบ่งตัว เส้นใยโครมาติน(chromatin fiber)จะหดและขดตัวจนมีลักษณะเป็นแท่ง เรียกว่า “โครโมโซม (Chromosome)” แต่ละโครโมโซม ประกอบด้วยแขนสองข้างที่เรียกว่า “โครมาทิด (chromatid)” ซึ่งแขนทั้งสองข้างจะมีจุดเชื่อมกัน เรียกว่า “เซนโทรเมียร์ (Centromere)”

ข้อแตกต่างระหว่าง ยีน(Gene) ดีเอ็นเอ(DNA) และโครโมโซม (Chromosome)

  • ยีน(Gene) เป็นส่วนหนึ่งของดีเอ็นเอ(DNA)
  • ดีเอ็นเอ(DNA) จะมีส่วนที่ไม่ใช่ยีนและส่วนที่เป็นยีน(Gene)เป็นส่วนประกอบ และ ดีเอ็นเอ(DNA) เป็นส่วนประกอบหลักของโครโมโซม (Chromosome)
  • โครโมโซม (Chromosome) มีดีเอ็นเอ(DNA)และโปรตีน(Protein) เป็นส่วนประกอบหลัก
  • หากเรียงขนาดจากใหญ่ไปเล็กจะเรียงได้ดังนี้ โครโมโซม (Chromosome) > ดีเอ็นเอ(DNA) > ยีน(Gene)

จีโนม (Genome)

  • จีโนม คือข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดที่จำเป็น ใช้ในการสร้างและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างปกติของสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่ง
  • จีโนม อยู่บนดีเอ็นเอ (DNA) ซึ่งในสิ่งมีชีวิตชั้นสูง จีโนม ก็คือ ชุดของ ดีเอ็นเอ (DNA) ทั้งหมดที่บรรจุอยู่ในนิวเคลียสของทุก ๆเซลล์
  • จีโนม ของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะแตกต่างกัน และสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีขนาดของจีโนมแตกต่างกัน
    โดยมีคำกล่าวว่า จีโนม คือ “แบบพิมพ์เขียว” หรือ Blueprint ของสิ่งมีชีวิต

ยีน-genome

 Genetics (พันธุศาสตร์)

  • Genetics (พันธุศาสตร์) เป็นอีกสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ทางชีววิทยา ศึกษาเกี่ยวกับยีน ดีเอ็นเอ (DNA), หน่วยพันธุกรรม หรือ ยีน(gene), พันธุกรรม (heredity), โรคทางพันธุกรรม การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม การควบคุมการ แสดงออกทางพันธุกรรม และความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตต่างๆ

 

รู้เรื่องยีนแล้วทำไมต้อง วายสแปน(Y-Span)

ค่ะ ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจบทบาทของ ยีน แบบเข้าใจง่ายๆกันค่ะ..

1) DNA/gene คนเราเสื่อม หรือถูกทำลาย “ล้านครั้ง” ต่อวัน
2) ยีนถูกทำลายจาก “อนุมูลอิสระ” การมี “สารต้านอนุมูลอิสระ” ในร่างกายจะช่วยปกป้องการถูกทำลายของยีนได้ (ดังนั้น ควรตรวจเพื่อหาค่าสารต้านของร่างกายและเสริมให้อยู่ในระดับที่สูงเพียงพอ)

DNA damaged

3) นอกจากยีนจะเสื่อมจาก “อนุมูลอิสระ” แล้ว “ยีนยังทำงานผิดพลาดเอง” ได้ด้วย
4) ที่จริงร่างกายเรายังมีระบบซ่อมแซมตัวเอง แต่ พอยีนเสื่อม ระบบซ่อมแซมก็ทำงานแย่ลง เปรียบเสมือนร่างกายเป็นโรงงาน เมื่อระบบซ่อมบำรุงไม่ทำงานหรือทำได้น้อย คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น..

>> ageLOC Y-Span จะเข้าไปซ่อมความเสื่อมของสาย DNA ให้กลับมาแข็งแรงได้ <<

5)หากปล่อยให้ยีนเสื่อม ซ่อมแซมตัวเองไม่ได้ ยีนบางส่วนเกิดการแบ่งตัวผิดปกติ (ยีนทำงานผิดพลาดเอง) กลายเป็นยีนมะเร็งได้ (Tumor Suppressor Gene คือสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็ง มากกว่า 50% และ ageLOC Y-Span จะเข้าไปฟื้นฟูยีนตัวนี้เป็นหลัก)
Gene repair

6.) ทุกครั้งที่ยีนออกคำสั่งไปที่เซลล์ (เช่นให้สร้าง คอลลาเจน ให้สร้างอินซูลิน หรือทำอะไรก็ตาม) เราจะเสียส่วนปลายของแท่ง DNA หรือ ทีโลเมียร์ไป ทำให้ แท่ง DNA จะสั้นลงๆๆ แต่..

>> ageLOC Y-Span จะช่วยลดการสั้นลงของทีโลเมียร์ ดังนั้น ก็เหมือนการช่วยให้เรามีอายุยืนขึ้นนั่นเอง <<

อาหารทั่วไปที่เรารับประทาน จะเข้าไปเลี้ยง Cell (เซลล์) แต่ไม่สามารถไปเข้าถึงเซลล์สมอง เพราะ มี Blood Brain Barrier เป็นตัวกั้นไม่ให้สารอาหารผ่านเข้าไปในสมองได้ง่าย แต่ ageLOC Y-Span สามารถผ่านจุดนี้ไปได้ ช่วยให้คนเป็นอัลไซเมอร์/สมองฝ่อได้น้อยลง และยังเข้าไปช่วยในระบบอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งจะทยอยมาให้ข้อมูลในโพสต์ต่อๆไปนะคะ

เท่าที่สรุปมานี้ คงจะพอเห็นภาพแล้วนะคะว่า ยีนสำคัญกับสุขภาพมากๆ และยีนทำงานหนักมากๆ และมี threats หรือ สิ่งคุกคามมาทำให้ยีนเสื่อมได้ตลอดเวลา “และถึงเราทานอาหารดีมีประโยชน์ครบแค่ไหน ก็ไปไม่ถึงยีนและเซลล์สมองเลย”

#Y-Span ให้อาหารยีนในร่างกาย ช่วยปกป้องดูแลสุขภาพโดยรวม
อ่านข้อมูลวายสแปนเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ

———
ขอขอบคุณ: 
Credits: www.thaibiotech.info, ทพญ.ดร.ชวนชม มวลประสิทธิพร (ผู้เชี่ยวชาญด้านยีนแห่งประเทศไทย), ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *